ผลงานสุด”ปัง”ของนักคิดนักประดิษฐ์เยาวชนในงานมหกรรมแห่งชาติ 2559

สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ร่วมกับหน่วยงานเครือข่ายในระบบวิจัยทั่วประเทศ จัด “มหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2559 (Thailand Research Expo 2016)” ระหว่างวันที่ 17-21 สิงหาคม 2559 ณ โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ และบางกอกคอนเวนชั่นเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์ กรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นกิจกรรมสำคัญที่จัดขึ้นปีละ 1 ครั้ง เพื่อนำเสนอผลงานวิจัยและนวัตกรรมการวิจัยที่มีคุณภาพเพื่อเชื่อมโยง บูรณาการองค์ความรู้ไปสู่การใช้ในการพัฒนาประเทศทั้งในมิติเชิงวิชาการ นโยบาย สังคมชุมชน และพาณิชย์ อุตสาหกรรม ซึ่งปีนี้นำผลงานมาจัดแสดงจำนวนกว่า 600 ผลงาน และหนึ่งในไฮไลต์สำคัญที่ได้รับการจับตามองและผู้มาชมงานให้ความสนใจเป็น จำนวนมากคือ โครงการประกวดผลงานสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมสายอุดมศึกษา ประจำปี 2559 มีผลงานจากนักศึกษาทั่วประเทศจำนวน 36 แห่ง ส่งผลงานเข้าประกวดจำนวน 106 ผลงาน ภายใต้ 5 กลุ่มเรื่อง ได้แก่ กลุ่มนวัตกรรมด้านวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี กลุ่มนวัตกรรมด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพและการแพทย์ กลุ่มนวัตกรรมด้านเกษตรและอาหาร กลุ่มนวัตกรรมด้านศิลปะและการออกแบบและกลุ่มนวัตกรรมด้านวิทยาศาสตร์กายภาพ และวัสดุศาสตร์
นางสาวสุกัญญา ธีระกูรณ์เลิศ เลขาธิการคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ กล่าวว่า สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) จัดการประกวดผลงานสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมสายอุดมศึกษา จัดควบคู่กับการจัดมหกรรมงานวิจัยแห่งชาติเป็นประจำทุกปี เพื่อสร้างแรงจูงใจ และส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพด้านการวิจัยและพัฒนาการประดิษฐ์คิดค้นของกลุ่ม อาจารย์และนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา ได้พัฒนาความรู้ ความสามารถและความคิดสร้างสรรค์อย่างต่อเนื่อง เพื่อก้าวสู่การเป็นนักวิจัยและนักประดิษฐ์คิดค้นที่ดีมีคุณภาพ สามารถผลิตผลงานสิ่งประดิษฐ์เผยแพร่สู่สาธารณชนให้กว้างขวาง ยิ่งขึ้น
โดยการประกวดปีนี้แบ่งผลรางวัลออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ รางวัลการเขียนข้อเสนอโครงการ และรางวัลผลงานนวัตกรรมสายอุดมศึกษา โดยผู้ที่ได้รับรางวัลจะได้รับเงินรางวัล พร้อมเกียรติบัตรจาก เลขาธิการ วช.
ผลงาน รางวัลดีเด่นด้านวิศวกรรม ศาสตร์และเทคโนโลยี “หุ่นยนต์ขนส่งอัตโนมัติ” สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาด กระบัง ได้รับรางวัลดีเด่นกลุ่มนวัตกรรมด้านวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี นำโดย นายเอกพัฒน์ เอกนรพันธ์ คณะวิศวกรรมระบบควบคุม เป็นตัวแทนกล่าวถึงผลงานว่า ได้แรงบันดาลใจมาจากการเห็นลูกค้าในห้างสรรพสินค้าเดินซื้อสินค้าภายในห้างฯ บางคนอาจไม่รู้จุดที่ตั้งของร้านคาที่ตนต้องการจะซื้อ หรือซื้อของแล้วก็ต้องหิ้วของพะรุงพะรัง หุ่นยนต์ตัวนี้จะช่วยนำทางไปยังจุดที่ ต้องการได้อย่างรวดเร็ว พร้อมทั้งนำเสนอโปรโมชั่นหรือความน่าสนใจของร้านค้าต่างๆ ที่เดินผ่านได้ รวมถึงเป็นบริกรช่วยถือสินค้าที่ซื้อมาอีกด้วย
ผลงานรางวัลดีเด่น ด้านวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี “เรือหุ่นยนต์สองทุ่นแบบใช้งานระยาวสำหรับสำรวจข้อมูลอุทกศาสตร์” จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ได้รับรางวัลดีเด่น กลุ่มวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี นับว่าเป็นอีกหนึ่งผลงานที่ประดิษฐ์และทำการวิจัยเพื่อแก้ไขปัญหาของประเทศ ได้อย่างน่าชื่นชม โดย นายคุณากร อนุวัตพาณิชย์ นักศึกษาปริญญา โท คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมเครื่องกล ตัวแทนคณะนักประดิษฐ์และนักวิจัยผลงานชิ้นนี้กล่าวว่า คนไทยมีวิถีชีวิตที่เกี่ยวข้องกับน้ำมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน มีแม่น้ำสายหลักหลายสายที่หล่อเลี้ยงชีวิตคนไทย โดยเฉพาะเกษตรกร
ผลงาน รางวัลระดับดี ด้านวิศวกรรม ศาสตร์และเทคโนโลยี “การส่งผ่านพลังงานจากจักรยานออกกำลังกายสู่ระบบอุ่นอาหารโดยการให้ความร้อน ที่เกิดจากความต้านทานไฟฟ้า” ผลงานความร่วมมือของนักศึกษาระดับปริญญาตรี ภาควิชาวิศวกรรมการ อาหาร และภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ได้รับรางวัลดีเด่น กลุ่มวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี โดย นางสาวปัทมา ชูเงิน นักศึกษาภาควิชาวิศวกรรมอาหาร เป็นตัวแทนเพื่อนๆ เผยถึงผลงานสิ่งประดิษฐ์นี้ว่า เกิดจากแรงบันดาลใจที่ต้องการให้เพื่อน ๆ หันมาออกกำลังกาย ซึ่งการปั่นจักรยานเป็นการออกกำลังกายที่กำลังได้รับความนิยม ซึ่งการออกกำลังกายเป็นการใช้พลังงานกายที่ทำให้เกิดพลังานไฟฟ้าได้อีกทางหนึ่ง จึงมองว่าถ้าออกกำลังกายไปด้วยและสามารถนำพลังงานที่ได้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในด้านอาหารซึ่งเป็นด้านที่ตนเองถนัดโดยใช้หลักวิศวกรรมอาหารและวิศวกรรมเครื่องกลมาบูรณาการร่วมกัน
ทั้งหมดนี้นี่เป็นเพียงส่วนหนึ่งของผลงานที่ได้รับรางวัล ซึ่งต้องขอชื่นชมเหล่านักวิจัย นักประดิษฐ์รุ่นใหม่ ที่สร้างสรรค์ผลงานที่วัดนนี้อาจเป็นเพียงจุดเริ่มต้นแต่รับรองว่าต่อไปพวกเขาจะเป็นมืออาชีพที่ประดิษฐคิดค้นพัฒนาวิจัยจนสามารถสร้างผลงานอันทรงคุณค่า ที่จะนำไปใช้ในการพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจของประเทศต่อไปได้ ซึ่งนั่นวัตถุประสงค์ของ วช.ในการจัดการประกวด “ผลงานสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมสายอุดมศึกษา”
ไทยโพสต์ ฉบับวันที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2559
c-160917008115-1

c-160917008115-2

c-160917008115

แสดงความคิดเห็น

[fbcomments count="off" num="5"]