คอลัมน์ อวดดี: คว้าถ้วยพระราชทานแกะสลักผัก-ผลไม้

          คว้าถ้วยพระราชทานสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี การประกวดแกะสลักผัก-ผลไม้ ผสานงานใบตอง ดอกไม้สด ครั้งที่ 21 ในหัวข้อ “เฉลิมพระเกียรติมหามงคล บรมราชาภิเษกเอกอัครรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว”  สร้างความปลื้มปีติแก่คณาจารย์ นักศึกษา คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ และ ศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี เป็นอย่างมาก
ทีม มทร.ธัญบุรี ซึ่งคว้ารางวัลสูงสุด ในรายการ ประกอบด้วย นายธีร์คณาธิป ไพทูรย์, นายภูวิพัฒน์ สุภาศรีคงพัฒน์, นายชลตกานต์ เณรเถาว์ และ  นางสาวขวัญฤดี ภูเต้านา โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์เสริมศรี สงเนียม และ อาจารย์ดิษฐวัฒน์  อินนุพัฒน์เป็นผู้ควบคุมทีม

          สำหรับแนวคิดในการออกแบบงานเป็นเนื้อหาเกี่ยวกับพระราชพิธีบรมราชาภิเษก โดยได้ผสมผสานงานแกะสลัก งานดอกไม้และงานใบตอง ให้ตรงกับหัวข้อการประกวด เช่น แกะ สลักฟักทองเป็นเครื่องเบญจราชกกุธภัณฑ์ อันหมายถึง สิ่งของเครื่องใช้ 5 องค์ที่เป็นเครื่องหมายแสดงความเป็นพระราชา การแกะสลักเรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ แกะสลักพสกนิกรร่วมถวายพระพรชัยด้วยเผือก และแกะสลักดอกไม้จากผักผลไม้นานาพันธุ์ ทั้งนี้ได้บูรณาการองค์ความรู้ร่วมกันระหว่างศาสตร์ ฝ่ายศิลปกรรมจัดทำโครงสร้างหลัก แกะสลักพระบรมฉายา ลักษณ์ แกะสลักชสีห์ ราชสีห์ และแกะสลักตัว คนจากเผือกในอิริยาบถต่าง ๆ ส่วนนักศึกษาเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ทำหน้าที่แกะสลักรายละเอียด เช่น เครื่องเบญจราชกกุธภัณฑ์ แกะสลักดอกไม้ และประดิษฐ์งานดอกไม้ใบตองแบบไทยประเพณี ซึ่งจะเห็นได้ว่าเมื่อนำทั้งสองศาสตร์มาเกื้อกูลกัน ทำให้เกิดเป็นผลงานที่มีความประณีตงดงามทั้งด้านศาสตร์และศิลป์อย่างลงตัว
ปลา-นายธีร์คณาธิป ไพทูรย์ นักศึกษาสาขาเทคโนโลยีงานประดิษฐ์สร้างสรรค์ คณะเทคโนโลยีคห กรรมศาสตร์ บอกว่า หน้าที่หลักของตนเองคือ ดูแลเรื่องงานดอก ไม้ประดิษฐ์และงานใบตอง ซึ่งทุกชิ้นถูกบรรจงเรียงร้อยด้วยความวิจิตรงดงาม เพื่อสื่อถึงการเฉลิมพระเกียรติฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่10 ทั้งนี้ได้นำความรู้ความสามารถทั้งหมดที่เรียนมาทุ่มเทลงในผลงาน และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่าง 2 คณะซึ่งนับเป็นโอกาสที่ดีที่ทำให้ได้พัฒนาตนเองเพิ่ม ขึ้นไปอีกขั้น
ณัฐ-นายภูวิพัฒน์ สุภาศรีคงพัฒน์ นักศึกษาสาขาเทคโนโลยีงานประดิษฐ์สร้างสรรค์ คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ เล่าว่า จุดเด่นของงานคือการจัดวางโครงสร้างของชิ้นงานที่สามารถสื่อความหมายตรงกับโจทย์ที่ได้รับมาอย่างชัดเจน ได้นำความรู้หลายแขนงมาปรับใช้ในการทำงานหลัก ๆ คือการแกะสลัก การจัดดอกไม้ งานใบตอง รวมถึงการปรับตัวในการทำงานเป็นทีม
ปู-นายชลตกานต์ เณรเถาว์ นักศึกษาสาขาวิชาประติมากรรม คณะศิลปกรรมศาสตร์ กล่าวว่า ทุกคนตั้งใจทำงานที่ได้รับมอบหมายอย่างเต็มความสามารถ การทำงานย่อมมีอุปสรรคแต่ทุกคนช่วยกันแก้ไขปัญหาให้ลุล่วงไปได้ เพื่อให้ผลงานออกมาอย่างสมบูรณ์ที่สุด ตนเองรับผิดชอบในส่วนของโครงสร้างงานก่อนจะประดับดอกไม้สด การเกลาโฟม และส่วนประกอบย่อย ๆ ของงาน ซึ่งได้ใช้ทักษะในเชิงศิลปะที่ได้เรียนรู้มาเป็นอย่างดี
ขวัญ-นางสาวขวัญฤดี ภูเต้านา นักศึกษา สาขาวิชาประติมากรรม คณะศิลปกรรมศาสตร์ บอกว่า รู้สึกดีใจและภูมิใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งในการสร้างสรรค์ผลงาน หน้าที่หลักของตนเองคือการแกะโฟมรูปคน ในอิริยาบถต่าง ๆ เช่นกำลังถวายชัยพรแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10 เป็นต้น.

แสดงความคิดเห็น

[fbcomments count="off" num="5"]