ปลื้มรับปีใหม่ 2563 เมื่อเยาวชนไทยสามารถ คว้ารางวัลระดับโลกมาได้ จากการแข่งขัน The Inter national Invitation of Optoelectronic Technical Skills ณ เมืองฉงชิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน
เยาวชนคนเก่งที่ว่านี้คือ นายศุภเศรษฐ จันทร์อ่อน นักศึกษาชั้นปีที่ 2 ภาควิชาวิศวกรอิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม สาขาวิศวกรรมโทรคมนาคม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ธัญบุรี ที่สร้างชื่อเสียงให้ประเทศไทยด้วยการคว้ารางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ภายใต้การดูแลของ อาจารย์ภูเบต แสงมะฮะหมัด อาจารย์ผู้ควบคุม ภาควิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม คณะวิศวกรรมศาสตร์
โดยการแข่งขัน The International Invitation of Optoelectronic Technical Skills เป็นการแข่งขันเพื่อวัดความสามารถด้าน Optoelectronic ประกอบไปด้วยความรู้และทักษะด้านเทคโนโลยี ทักษะการประกอบ การติดตั้ง ระบบแสงสว่างอัจฉริยะ การใช้งานและการแก้ไขปัญหาทางด้าน Optoelectronic รวมถึงการใช้แอพพลิเคชั่นอย่างมีประสิทธิภาพ ลดการใช้พลังงาน ในยุคของภาวะโลกร้อน และประหยัดงบประมาณในการติดตั้ง ซึ่งการแข่งขันครั้งนี้ มี 9 ประเทศ 9 ทีม เข้า ร่วมแข่งขัน ประกอบด้วย ประเทศจีน รัสเซีย เยอรมนี เม็กซิโก กานา บังกลาเทศ แอฟริกาใต้ ปากีสถาน และ ประเทศไทย
ในการแข่งขัน ศุภเศรษฐใช้ความรู้ในการออกแบบและการเลือกใช้อุปกรณ์ทางด้าน Optoelectronic ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ และสถานที่ การวิเคราะห์ข้อผิดผลาด การติดตั้งและการควบคุมจอ แสดงผล LED รวมถึงการออกแบบและติดตั้งระบบส่องสว่างอัจฉริยะ ด้วยทักษะที่ร่ำเรียนมา ปฏิบัติตามโจทย์การแข่งขันอย่างสมบูรณ์รอบคอบ อยู่ภาย ใต้ความปลอดภัย เลือกใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ อย่างถูกต้อง และบริหารเวลาในการปฏิบัติการแข่งขันได้เป็นอย่างดี ส่งผลให้ศุภเศรษฐคว้ารางวัลมาให้คนไทยได้ชื่นชมได้
นายศุภเศรษฐ กล่าวว่า ในการแข่งขันครั้งนี้ได้ รับประสบการณ์ความรู้และเทคโนโลยีใหม่ ๆ ทางด้าน Op toelectronic รวมถึงการพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษ และการทำงานในสภาวะแวดล้อมสากล รวมถึงยังเป็นการเชื่อม สัมพันธ์กับนักศึกษาและอาจารย์จากประเทศอื่น ๆ สำหรับการติดต่อประสานงานในอนาคต
สำหรับกติกาในการแข่งขัน แบ่งออกเป็น 5 โมดูล โมดูล 1 lamps assembly and troubleshooting of supply power เวลา 45 นาที โมดูล 2 LED color screen assembly and information processing เวลา 45 นาที โมดูล 3 Production and commissioning of LED lights product เวลา 120 นาที โมดูล 4 Intelligent lighting control system assembly and Commissioning เวลา 180 นาที และโมดูล 5 Implementation and commissioning of illuminating engineering installation เวลา 120 นาที โดยใช้เวลาสำหรับการแข่งขันรวมทั้งสิ้น 8 ชั่วโมง 30 นาที ก่อนการแข่งขันในแต่ละ Module ผู้เข้าแข่งขันทุกคนจะได้รับฟังคำชี้แจงการแข่งขันพร้อมทั้งรับโจทย์การแข่งขัน พร้อมทั้งห้ามนำเอกสารและเครื่องมือสื่อสารต่าง ๆ เข้าไปในบริเวณการแข่งขัน ขณะแข่งขันในแต่ละ Module ผู้เข้าแข่งขันห้ามสื่อสารหรือสอบถามกับอาจารย์ผู้ควบคุมของประเทศตนเอง แต่สามารถสอบถามกับคณะกรรมการหรือคณะกรรมการจากประเทศอื่นได้ เมื่อหมดเวลาการแข่งขันในแต่ละ Module ผู้เข้าแข่งขันทุกคนต้องหยุดแล้วออกจากสนามแข่งขัน เพื่อให้คณะกรรมการทั้ง 3 คน ทำการตรวจสอบ พร้อมบันทึกผลคะแนนลงในแบบบันทึกผล
ปัจจุบันเทคโนโลยีด้าน Optoelectronic ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก ทั้งในเรื่องการส่องสว่าง (หลอดไฟ LED) การแสดงผล (จอแสดงผลแบบ LED) และการตกแต่งเพื่อความสวยงามตามสถานที่ต่าง ๆ จึงเป็นเทคโนโลยีที่น่าจับตามอง.
–จบ–