มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 24 ก.พ. – 2 มี.ค. 2566
หลังมีดราม่า อาจารย์ช้อปปิ้งงานวิจัย ที่ทำเอาหลายมหาวิทยาลัยต้องสะเทือน โดยเฉพาะมหาวิทยาลัยที่มีชื่ออาจารย์ในสังกัดเข้าไปเกี่ยวข้องกับการซื้องานวิจัย ถึงขั้นต้องสแกนอาจารย์ที่มีงานวิจัยเป็นรายบุคคล
ขณะที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) มีหนังสือคำสั่งให้มหาวิทยาลัยทุกแห่งตรวจสอบอาจารย์ในสังกัด หากพบอาจารย์ หรือนักวิจัยในสังกัดเข้าข่ายทำผิดทางจรรยาบรรณ ให้รายงานข้อมูลมาให้ อว.รับทราบ
ล่าสุด นพ.สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ปลัด อว. เปิดเผยว่า ขณะนี้มีมหาวิทยาลัยรายงานข้อมูลมา 34 แห่ง
ในจำนวนนี้มี 33 ราย ใน 8 มหาวิทยาลัยที่มีพฤติกรรมเข้าข่าย ลงานวิจัย อีกทั้งยังได้รับแจ้งข้อมูลเพิ่มเติมในช่องทางอื่น รวมทั้งการ บค้นจากฐานข้อมูลภายใน มีบุคคลที่เข้าข่ายอีกว่า 100 ราย
สำหรับ 8 มหาวิทยาลัยที่มีอาจารย์หรือนักวิจัยมีพฤติกรรมเข้าข่ายผิดจรรยาบรรณ ดังนี้ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (มก.) มหาวิทยาลัยขอนแก่น (มข.) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (มช.) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ.) มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ มวล.) มหาวิทยาลัยทักษิณ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ม.อ.) และมหาวิทยาลัยรามคำแหง (มร.)
โดยนายศุภชัย ปทุมนากุล รองปลัด อว.กล่าวว่า อว.จะเดินหน้าตรวจสอบเรื่องนี้อย่างจริงจัง
เบื้องต้นมหาวิทยาลัยที่ตรวจสอบพบมีอาจารย์เข้าข่ายกระทำว่าผิดจรรยาบรรณ แต่ละแห่งมีการตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงแล้ว หากพบว่ามีมูลและได้กระทำผิดจรรยาบรรณจริงก็จะต้องลงโทษตามระเบียบของมหาวิทยาลัย และรายงานให้ อว.รับทราบ เพื่อดาเนินการตามกฎหมายส่
“เรื่องนี้มีความผิด เป็นคดีอาญา ตาม พ.ร.บ.การอุดมศึกษา พ.ศ.2562 มาตรา 70 ที่ระบุว่า เพื่อประโยชน์ในการรักษามาตรฐานการอุดมศึกษา หลักธรรมาภิบาล และความซื่อสัตย์สุจริตทางวิชาการ ห้ามมิให้ผู้ใดจ้างวาน ใช้ให้ผู้อื่นทำผลงานทางวิชาการ เพื่อไปใช้ในการเสนอเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาในหลักสูตรการศึกษาระดับอุดมศึกษาหรือเพื่อไปใช้ในการทำผลงาน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการขอตำแหน่งทางวิชาการ หรือเสนอขอปรับปรุงการกำหนดตำแหน่ง การเลื่อนตำแหน่ง การเลื่อนวิทยฐานะหรือการให้ได้รับเงินเดือนหรือเงินอื่นในระดับที่สูงขึ้น ทั้งนี้ ไม่ว่าจะมีประโยชน์ตอบแทนหรือไม่ก็ตาม ห้ามมิให้ผู้ใดรับจ้างหรือรับดำเนินการตามวรรคหนึ่ง เพื่อให้ผู้อื่นนำผลงานนั้นไปใช้ประโยชน์ในการดำเนินการตามวรรคหนึ่ง เว้นแต่เป็นการช่วยเหลือโดยสุจริตตามสมควร และมาตรา 77 ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 70 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ”
รองปลัด อว.กล่าว
ขณะที่มหาวิทยาลัยที่มีชื่อทั้ง 8 แห่ง ต่างออกมาแสดงความบริสุทธิ์ใจในการแก้ไขปัญหา
อย่างเช่น รศ.ณฐพงศ์ จิตรนิรัตน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยทักษิณ หนึ่งในมหาวิทยาลัยที่ตรวจสอบพบความผิดปกติ ระบุว่า เรื่องนี้ถือเป็นการสั่นคลอนความน่าเชื่อถือของสังคมที่มีต่อมหาวิทยาลัย ในส่วนของมหาวิทยาลัยทักษิณเอง ได้แต่งตั้งคณะกรรมการสำรวจสถานะการตีพิมพ์ผลงานวิจัยและผลงานวิชาการ พบความผิดปกติ 1 ราย และได้แต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริง เพื่อดำเนินการตามขั้นตอนและกระบวนการที่กฎหมายกำหนดต่อไปแล้ว
ขณะที่ ผศ.ดร.นิวัติ แก้วประดับ รักษาการอธิการบดี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ม.อ.) กล่าวคล้ายกันว่า ม.อ. มีบุคลากรต้องสงสัยตีพิมพ์งานวิจัยผิดปกติ 12 ราย โดยได้แต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงจจริงเบื้องต้นแล้ว 7 ราย
หากไม่สามารถชี้แจงผลงานวิจัยดังกล่าวได้ หรือไม่มีเหตุผลเพียงพอ จะตั้งคณะกรรมการสอบสวนวินัยต่อไป
ด้าน รศ.นพ.ชาญชัย พานทอง วิริยะกุล อธิการบดี มหาวิทยาลัยขอนแก่น (มข.) บอกเช่นเดียวกันว่า ไม่ได้นิ่งนอนใจหลังมีข่าวการซื้อขายงานวิจัย ได้ตรวจสอบทันที จากการตรวจสอบพบอาจารย์เข้าข่ายกระทำความผิด 8 ราย และได้ส่งรายชื่ออาจารย์ทั้ง 8 รายให้ อว.รับทราบแล้ว และ มข.ได้รายงานให้ที่ประชุม สภา มข.รับทราบพร้อมตั้งคณะกรรมการสอบวินัยเพื่อดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริง ซึ่งการตรวจสอบเรื่องนี้ต้องใช้เวลา และต้องดำเนินการอย่างรอบคอบ เพราะต้องให้โอกาสอาจารย์ที่เข้าข่ายกระทำความผิดมาชี้แจงข้อกล่าวหาด้วย
เรื่องการซื้อขายงานวิจัยนั้น ต้องมองไปข้างหน้า โดยวิเคราะห์สาเหตุว่าทำไมถึงเกิดการซื้อขายงานวิจัยขึ้น และต้องลงลึกไปที่รากของปัญหา
มองว่าเรื่องดังกล่าวมาจากการสร้างแรงจูงใจให้อาจารย์มหาวิทยาลัยผลิตผลงานวิจัย ซึ่งถือเป็นดาบสองคม เพราะทำให้ผู้ที่คิดไม่ดี จะปลอมแปลงงานวิจัย เพื่อนำมาเบิกค่าตีพิมพ์ หรือ นำงานวิจัยนั้นมาขอรางวัล ประกอบกับปัจจุบัน อว.ออกหลักเกณฑ์วิธีการได้ตำแหน่งทางวิชาการรูปแบบใหม่ ที่ดูผลงานวิจัยเป็นหลัก สิ่งเหล่านี้เป็นแรงจูงใจที่ทำให้อาจารย์ หรือนักวิจัยหลงผิด ไปซื้องานวิจัย
สิ่งที่เราควรหันกลับมาดู คือจะสร้างแรงจูงใจให้อาจารย์แบบไหน ให้เกิดความสมดุล มีความเหมาะสม ไม่ก่อให้เกิดความโลภและขั้นตอนการตรวจสอบควรจะต้องละเอียดรอบคอบยิ่งขึ้น โดยเฉพาะการให้รางวัลต่างๆ ซึ่งในวันนี้มีการประชุมที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) ที่ มช. ซึ่งจะมีวาระพิจารณาเรื่องวิธีการป้องกันเชิงระบบ เพื่อไม่ให้เกิดการซื้อขายงานวิจัยขึ้น โดยที่ประชุมเสนอหลายวิธีการ เช่น การตีพิมพ์งานวิจัยด้านการแพทย์ บรรณาธิการวารสารด้านการแพทย์ทั่วโลกตกลงกันว่าถ้าต้องการตีพิมพ์วารสารทางการแพทย์ โดยเฉพาะงานวิจัยที่เป็นการทดลอง จะต้องลงทะเบียนก่อน หากไม่ลงทะเบียน จะตีพิมพ์งานวิจัยไม่ได้ หากนำวิธีการนี้มาใช้ในสายสังคมศาสตร์ สายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี อาจทำให้การปลอมแปลงงานวิจัยเกิดขึ้นน้อยลง เป็นต้น”
รศ.นพ.ชาญชัยกล่าว
ปิดท้ายที่ รศ.ดร.สมหมาย ผิวสอาด อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ธัญบุรี ในฐานะประธานคณะกรรมการอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (ทปอ.มทร.) 9 ราชมงคลได้มีการติดตามข่าวอย่างใกล้ชิด และได้ดำเนินการตรวจสอบข้อมูลเบื้องต้นเบื้องต้นไม่ไม่พบอาจารย์ในสังกัดมีพฤติกรรมทำความผิดในเรื่องดังกล่าว
อย่างไรก็ตาม กรณีนี้กระทบต่อวงการวิชาการอย่างมาก และ เป็นเรื่องที่ไม่น่าจะเกิดขึ้น และเพื่อยืนยันความสุจริตของทั้ง 9 มทร. ที่ประชุม ทปอ.มทร.จึงได้ร่วมกันประกาศเจตนารมณ์ไม่ ยอมรับการกระทำผิดต่อจริยธรรมและจรรยาบรรณการวิจัยและจะดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริง หากพบว่าบุคลากรของ มทร.มีการกระทำผิดต่อจรรยาบรรณดังกล่าว จะมีการลงโทษอย่างเด็ดขาดโดยไม่มีการช่วยเหลือกัน
จากนคงตองต้องจับตาดูว่า อว.และมหาวิทยาลัยต่างๆ จะมีท่าทีแก้ปัญหาที่ชัดเจนขึ้นหรือไม่ เพราะหากยังไม่มีความชัดเจน โดยเฉพาะมาตรการลงโทษนักวิจัยแกะดำที่เด็ดขาดกว่านี้
คงเป็นเรื่องยากที่จะกอบกู้ความน่าเชื่อถือของนักวิจัย และอาจารย์มหาวิทยาลัยไทยกลับมา