มทร.ธัญบุรี
ปี 2560 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ธัญบุรี ยุคผู้นำชื่อ “รศ.ดร.ประเสริฐ ปิ่นปฐทรัฐ” อธิการบดี มทร.ธัญบุรี เผยความตั้งใจในการสืบสานพระราชปณิธานด้านการศึกษาของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชว่า พระองค์ทรงเป็นบรมครูต้นแบบแห่งแผ่นดิน เห็นได้จากหลายโครงการที่ปรากฏเป้นที่ประจักษ์ ดังเช่น โครงการการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม เผยแพร่การเรียนการสอนของครูจากที่แห่งหนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งโดยเฉพาะในพื้นที่ห่างไกล นับเป็นปรัชญาการศึกษาที่ขยายโอกาสทางการศึกษา ซึ่งเป้นสิ่งที่ มทร.ธัญบุรี พึงตระหนักและขอสานต่อปณิธานการ
ศึกษาในด้านโอกาสการศึกษาให้แก่นักศึกษาที่ด้อยโอกาสและขาดแคลนทุนการศึกษา รวมทั้งนำหลักการมาประยุกต์เข้ากับการศึกษาออนไลน์ เพื่อให้ผู้เรียนสามารถทบทวนซ้ำเพิ่มเติมได้ด้วยตนเองต่อไป
“มทร.ธัญบุรี ยังคงเน้นย้ำความเป็นบัณฑิตนักปฏิบัติมืออาชีพอย่างต่อเนื่องบนพื้นฐานความเป็นวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมและตั้งเป้าหมายในการสร้างและพัฒนาทุนมนุษย์ กล่าวคือ สร้างคน-สร้างอาชีพอย่างมีคุณภาพ ให้สอดรับกับนโยบายของรัฐบาลและการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีตลอดจนการพึ่งพาจากต่างประเทศ”
รศ.ดร.ประเสริฐ กล่าวว่า ทุกวันนี้ความที่เทคโนโลยีเปลี่ยน อาชีพการทำงานก็เปลี่ยน มหาวิทยาลัยจึงต้องปรับและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่หลักสูตรที่สามารถวัดความสามารถหรือสมรรถนะของผู้เรียน ครูอาจารย์ต้องมีประสบการณ์ทางวิชาชีพ วิธีการสอน การประเมินต้องเน้นความสามารถและสภาพแวดล้อมการเรียนที่สำคัญต้องสร้างความเชื่อมั่นแก่ผู้เรียน ให้สามารถรู้ความชอบความถนัดของตนเอง จนสามารถค้นพบตัวเองได้ว่ามีความรู้ระดับใด อยากรู้อะไรเพิ่มเติมและอยากประกอบอาชีพอะไรตั้งแต่ชั้นปีแรกๆและจะปรับการสอนมุ่งเน้นไปที่การทำโปรเจกท์มากยิ่งขึ้น เพื่อให้ผู้เรียนแสดงศักยภาพ เอื้อให้รู้จักและกล้าตัดสินใจ ตลอดจนลงมือปฏิบัติมากยิ่งขึ้น และเน้นการเรียนรู้ในระบบทีม หรือกลุ่ม เพื่อสนับสนุนให้เกิดการแชร์ประสบการณ์ความคิดร่วมกัน หวังผลลัพธ์ที่จะให้ผู้เรียนมีทักษะทางสังคมหรือ Soft Skill ในการก้าวสู่โลกการทำงานได้จริง หรือสามารถทำงานที่ใดก็ได้ในโลกใบนี้
อีกด้านหนึ่งการเรียนรู้นอกห้องเรียนก็สำคัญมากและเป้นหัวใจต่อการศึกษาในอนาคต เช่น การเรียนรู้โดยตรงจากภาคอุตสาหกรรม ซึ่งถือว่ามีบทบาทในการสร้างโจทย์การเรียนของนักศึกษาและการสร้างงานวิจัยแก่อาจารย์ สร้างความรู้และประสบการณ์ในขณะที่มหาวิทยาลัยมีทั้งคณาจารย์ นักวิชาการและนักวิจัย ก็สามารถนำความรู้จากโจทย์ดังกล่าวมาสรุปให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ในหลักสุตรที่นอกเหนือจากตำรา หรือนำมาวใช้ในการเรียนการสอน ร่วมกันสร้างนวัตกรรมงานวิจัยใหม่ๆ
“บทบาทของเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรีจะเป็นคลังความคิดคลังสมอง หรือ Think-Tank ในการสร้างเทคโนดลยี นวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์ เพื่อให้ภาคเอกชน ภาคธุรกิจ ภาคอุตสาหกรรม สามารถนำไปพัฒนาต่อยอดสู่เชิงพาณิชย์ต่อไป และจะต้องเดินควบคู่กันไปเพื่อสร้างเศรษฐกิจและทิศทางการพัฒนาประเทศชาติ”
ขณะเดียวกันหลักสูตรต่างๆต้องปรับเปลี่ยนให้มีความทันสมัยสอดรับกับเมกะโปรเจกท์ต่อการพัฒนาประเทศ เพื่อนักศึกษาจบออกไปแล้วมีหน้าที่การงานทำที่มั่นคงและยั่งยืน นั่นคือหน้าที่ของมหาวิทยาลัยที่จะต้องพัฒนากำลังคนเพื่อไปตอบสนองความต้องการเพื่อการประกอบอาชีพและการทำงานในอนาคต โดย มทร.ธัญบุรี คำนึงถึงการพัฒนาหลักสูตรใน 3 เรื่อง
“หลักสูตรจะต้องมีผลตอบรับทางการตลาด (Marketing Impact) ผลตอบรับทางสังคม (Social Impact) และมีผลในทางเศรษฐกิจ (Economic impact) นอกจากนั้นการบริหารจัดการมหาวิทยาลัยก็ต้องมีความเชื่อมโยงกับ 3 เรื่องที่กล่าวนี้ด้วย ผมเชื่อว่าหากมหาวิทยาลัยมีความพร้อม โดดเด่นและมีชื่อเสียงทุกคนก็จะเข้ามาเรียน” รศ.ดร.ประเสริฐ กล่าว
เหนืออื่นใด การส้รางบัณฑิตนักปฏิบัติมืออาชีพการสร้างงานวิจัยนวัตกรรม ดังที่กล่าวมาแล้ว ทิศทางและแนวโน้มของ มทร.ธัญบุรี ยังคงเน้นอย่างต่อเนื่อง คือ การส่งเสริมความเป็นนานาชาติ โดยสร้างความร่วมมือกับต่างประเทศ และเปลี่ยนบุคลากรและนักศึกษาจัดการศึกษาหลักสูตรนานาชาติ หลักสูตร Dual/Joint Degree, Joint Progrm หรือให้คณะและสามขา หาความร่วมมือเฉพาะทางจากตางประเทศ เช่น เยอรมณี ญี่ปุ่น ไต้หวัน จีน เกาหลี ฯลฯ ส่งเสริมให้ส่งผลงานวิจัยสิ่งประดิษฐ์ประกวดในต่างประเทศให้มากยิ่งขึ้น รวมถึงมุ่งเน้นการบริหารจัดการสมัยใหม่ นำเทคโนโลยีมาใช้ในการทำงานเพื่อใช้ให้เอื้อต่อการประมวลผล วิเคราะห์และช่วยตัดสินใจให้เกิดผลเชิงปริมาณและคุณภาพมากขึ้น ทั้งยังสนับสนุนให้ทุกคนในมหาวิทยาลัยมีจิตสำนึกในการช่วยอนุรักษ์และประหยัดพลังงานอย่างต่อเนื่อง
“ผมเชื่อมั่นว่าผู้สำเร็จการศึกษามาจาก มทร.ธัญบุรี มีความเป็นมืออาชีพและสามารถเป็นที่พึ่งของประเทศชาติต่อไป” รศ.ดร.ประเสริฐ กล่าวทิ้งท้าย